11 กันยายน 2549

สถานที่ติดต่อ

ท่านสามารถติดต่อกับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อขอใช้บริการสถานที่ และมาชมกิจกรรมการแสดงได้ที่:


ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร 02- 247- 0028 โทรสาร 02- 245- 7747

Thailand Cultural Centre
Ratchadapisek Road, Huay Kwang, Bangkok 10320
Tel 02 247 0028 FaX. 02-245-7747

ผังที่นั่ง

หอประชุมใหญ่

ที่นั่งภายในหอประชุมใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ:

ชั้นล่าง 1,394 ที่นั่ง


ชั้นสอง 242 ที่นั่ง

ชั้นสาม 364 ที่นั่ง

หอประชุมเล็ก

จัดเป็นระบบอัฒจันทน์ชั่วคราว 240 ที่นั่ง ซึ่งสามารถพับเก็บได้ นอกจากนั้นยังสามารถตั้งเก้าอี้เพิ่มเติม หากตั้งเต็มพื้นที่ หอประชุมนี้จุได้ทั้งสิ้น 500 ที่นั่ง



แผนที่และการเดินทาง


สำหรับการเดินทางมาศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นั้น ท่านสามารถเดินทางมายังศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยได้สะดวก ทั้งทางรถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถแท็กซี่

รถโดยสารประจำทางที่ผ่านศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

จากถนนรัชดาภิเษก / สาย 73, 136, 137, 206, ปอ.15, ปอ.22จากถนนพระราม 9 / สาย 168, 137, ปอ.168, ปอพ.4จากถนนเทียมร่วมมิตร / สาย 122จากถนนรามคำแหง / สาย 122, 137

รถไฟฟ้าใต้ดิน : ขึ้นลงที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ท่านสามารถดูแผนที่การเดินทางและแผนที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยฉบับชัดเจนได้ที่:http://www.thaiticketmaster.com/venue/venue_guide.php#

ประวัติศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในอดีต
คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2526 ให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในรูปของการให้เปล่า เพื่อการก่อสร้างอาคาร และการจัดหาอุปกรณ์ คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 6.38 ร้อยล้านบาท รัฐบาลไทยรับผิดชอบในการจัดเตรียมที่ดินสำหรับการก่อสร้าง จัดสาธารณูปโภค และงบประมาณในการดำเนินการต่อไป


ป้ายอนุสรณ์ประกาศการให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยของรัฐบาลญี่ปุ่น


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2528 และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนามหน่วยงานแห่งใหม่นี้ว่า "ศูนย์วัฒนะรรมแห่งประเทศไทย" และชื่อภาษาอังกฤษว่า "THAILAND CULTURAL CENTRE"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2530

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งเป็นหน่วยงาน ในสังกัดกรมศิลปากร ต่อมาในปีพุทธศักราช 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ มาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรมมีบทบาทหน้าที่สำคัญทางด้านศิลปวัฒนธรรม คือเป็นสูนย์กลางในการให้บริการทางการศึกษา ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสาขาต่าง ๆ แก่เยาวชนและประชาชนชาวไทย ซึ่งจะมีผลให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมไทย เกิดความรักหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และช่วยกันรักษาไว้เป็นศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของชาติสืบไป นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำหรับแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันในบรรดาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากจะมีบทบาทหน้าที่อันสำคัญในการเป็นแหล่งกลาง ของการจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสถานที่สำหรับให้เช่าหรือบริการ เพื่อการแสดงออกซึ่งกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่เยาวชน และประชาชนสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งรวมถึงการจัดประชุมสัมมนาระดับชาติ และนานาชาติด้วย

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยุ่บนถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นย่านธุรกิจการค้าแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยอาคารสำคัญ ๆ คือ หอประชุมใหญ่ หอประชุมเล็ก อาคารศูนย์บิรการช่าวสารทางวัฒนธรรม และอาคารรายรอบอื่น ๆ ซึ่งในแต่ละอาคารเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์อันทันสมัย สามารถสนองงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในหลายลักษณะ ได้แก่ หอประชุมใหญ่ หอประชุมเล็ก โรงละครกลางแจ้ง ลานกลางแจ้ง ห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องสมุดวัฒนธรรม ศาลาไทย และศาลาญี่ปุ่น

อาคารและสถานที่สำคัญๆ

ภายในบริเวณศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วยอาคารและสถานที่สำคัญๆ สำหรับจัดกิจกรรมและการแสดงทางวัฒนธรรมได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้





หอประชุมใหญ่ (Main Hall)

หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นหอประชุมขนาด 2,000 ที่นั่ง ซึ่งได้รับการออกแบบ และก่อสร้างอย่างดีเยี่ยม ทางด้านคุณภาพของเสียง สำหรับใช้งานทางด้านการแสดง ทุกประเภท ตลอดจนการประชุมระดับนานาชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้


อาคารภายนอกหอประชุมใหญ่
ที่นั่งภายในหอประชุมใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ:
ชั้นล่าง 1,394 ที่นั่ง ชั้นสอง 242 ที่นั่ง ชั้นสาม 364 ที่นั่ง

ที่นั่งภายในหอประชุมใหญ่
เวทีของหอประชุมใหญ่ กว้าง 19.50 เมตร สูง11.00 เมตร ลึก 16.00 เมตร ส่วนเวทีสำหรับการแสดงของไทย กว้าง 14.50 เมตร สูง 9.50 เมตร ลึก 14.50 เมตร เวทีหน้ามีความลึก 7.50 เมตร (รวมทั้งหลุมวงดุริยางค์ ซึ่งยกระดับเป็นเวทีได้)

เมื่อจัดเวทีสำหรับแสดงดนตรีโดยติดแผงสะท้อนเสียง เวทีจะมีความลึก 18.00 เมตร
บนเวทีใหญ่มีเวทียก 2 ชุด ขนาด 12 เมตร x 3.6 เมตร และ 2.7 เมตร x 1.8 เมตร ตามลำดับ

เวทีหอประชุมใหญ่พร้อมม่านพระอันวิจิตรและทรงคุณค่า โดย จักรพันธุ์ โปษยกฤต
ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2543

ฉากเวทีประกอบแผงสะท้อนเสียง เพื่อการแสดงดนตรี

อุปกรณ์ประกอบการแสดงติดตั้งไว้อย่างครบครัน และทันสมัย เช่น ระบบม่าน และฉากทุกประเภทตามมาตรฐานสากล ระบบแสดงซึ่งควบคุมด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบขยายเสียงที่สมบูรณ์แบบ สามารถถ่ายทอดการแปลภาษาของล่ามไปยังที่นั่งคนดูได้ถึง 4 ภาษาในขณะเดียวกัน

นอกจากนั้นยังมีเครื่องฉายภาพยนตร์ทั้งระบบ 16 มม. และ 35 มม.

ส่วนบริการอื่น ๆ ประกอบด้วย ห้องที่ประทับ ห้องโถง และห้องรับรองระดับต่าง ๆ ห้องอาหารสำหรับบริการประชาชนทั่วไป ด้านหลังเวทีมีห้องฝึกซ้อม ห้องแต่งตัวขนาดต่าง ๆ รวม 7 ห้อง ห้องสำหรับไหว้ครู และห้องพักนักแสดง

ห้องที่ประทับ
ห้องโถงชั้นล่าง

ห้องโถงชั้นล่าง มุมมองจากด้านบน

บริเวณที่นั่งรอชมการแสดงที่ตกแต่งด้วยหัวโขนจากเรื่องรามเกียรติ์

ห้องฝึกซ้อมการแสดงพร้อมราวจับสำหรับการเต้นบัลเล่ต์และกระจกบานใหญ่

ห้องแต่งตัวนักแสดงพร้อมอุปกรณ์ครบครัน

บริเวณจัดเลี้ยงรับรอง ชั้นสอง ที่สามารรองรับแขกวีไอพีได้ประมาณ 30-50 คน
หอประชุมเล็ก (Small Hall)
เป็นหอประชุมอเนกประสงค์ ขนาด 2,000 ตารางเมตร สามารถปรับแต่งใช้งานได้หลายลักษณะ ตั้งแต่จัดการแสดง จัดการประชุมประเภทต่าง ๆ จัดนิทรรศการ และการเลี้ยงรับรอง เป็นต้น

หอประชุมเล็ก มุมมองจากสวนญี่ปุ่น
ที่นั่งภายในหอประชุมเล็ก จัดเป็นระบบอัฒจันทร์ชั่วคราว 240 ที่นั่ง ซึ่งสามารถพับเก็บได้ นอกจากนั้นยังสามารถตั้งเก้าอี้เพิ่มเติม หากตั้งเต็มพื้นที่ หอประชุมนี้จุได้ทั้งสิ้น 500 ที่นั่ง

ที่นั่งภายในหอประชุมเล็ก

เวทีมีกรอบขนาดความกว้าง 12 เมตร สูง 6 เมตร ลึก 6 เมตร

เวทีหอประชุมเล็ก

อุปกรณ์การแสดง มีครบถ้วนเช่นเดียวกับหอประชุมใหญ่ และมีระบบปรับแต่งปริมาตรของห้อง และแผงสะท้อนเสียงที่สามารถปรับแต่งให้สอดคล้องกับปริมาตรของห้อง และการใช้สอย

พื้นที่เอนกประสงค์ขณะที่นั่งต่างระดับถูกพับเก็บด้วยระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ และฝ้าเพดานที่สามารถเลื่อนปิดเปิด เพื่อควบคุมคุณภาพเสียง

ห้องควบคุมแสงและเสียง
ส่วนบริการ ประกอบไปด้วยห้องโถง ร้านค้า ห้องเตรียมงานจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ ห้องแต่งตัวนักแสดงขนาดต่าง ๆ รวม 7 ห้อง ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับโรงละครกลางแจ้งได้

ห้องโถงหอประชุมเล็ก

โรงละครกลางแจ้ง (Amphitheatre)


ตั้งอยู่ด้านหลังของหอประชุมเล็ก ใช้สำหรับจัดการแสดงกลางแจ้งประเภทต่าง ๆ เช่น การแสดงดนตรี การแสดงการละเล่นพื้นเมือง และอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการแสดงที่ต้องการบรรยากาศแบบโล่งแจ้ง สบายๆ และเป็นกันเอง มีที่นั่งรูปอัฒจันทน์สำหรับผู้ชมจำนวน 1,000 ที่นั่ง โดยมีห้องแต่งตัว และห้องพักผ่อนสำหรับนักแสดงอยู่ในส่วนหลัง

เวทีโรงละครกลางแจ้ง

ที่นั่งรูปอัฒจันทน์สำหรับผู้ชม 1,000 คน

ลานกลางแจ้ง หรือลานเอนกประสงค์(Multi-purposed Plaza)

อยู่ระหว่างหอประชุมเล็กและหอประชุมใหญ่ ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกส่วนหนึ่ง เพราะมีลักษณะเป็นลานยกสูงและลานระดับต่ำ ลักษณะภูมิทัศน์ที่แวดล้อมไปด้วยไม้ไทยนานาพันธุ์ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายยามเย็น

ลานกลางแจ้งท่ามกลางแมกไม้อันร่มรื่น

ห้องนิทรรศการหมุนเวียน (Changing Exhibition Hall)

ห้องนิทรรศการหมุนเวียนตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ของอาคารนิทรรศการและบริการทางการศึกษา เป็นห้องสำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียนทางด้านศิลปวัฒนธรรม ตามหัวข้อที่กำหนดและจัดนิทรรศการจากผู้ที่ให้ความสนใจมาร่วมกันจัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ประชาชนที่ไป นิสิตนักศึกษา หรือนักเรียน

ทางเข้าห้องนิทรรศการหมุนเวียน

การจัดแสดงศิลปะของศิลปินแห่งชาติ

พื้นที่ใช้งานภายในห้องนิทรรศการหมุนเวียนที่สามารถออกแบบการใช้สอยได้หลากหลาย

ห้องนิทรรศการถาวร(Permanent Exhibition Hall)

ห้องนิทรรศการถาวรตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ของอาคารนิทรรศการและบริการทางการศึกษา เป็นห้องสำหรับจัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนาการชนชาติไทย มีเรื่องราวสำคัญๆ คือ ความเป็นมาของชนชาติไทย ภูมิจักรวาล ภาษาและวรรณคดี การดำรงชีวิตของคนไทยและวัฒนธรรมข้าว ประเทศไทยกับโลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของชนชาติไทย

นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันจันทร์ ถึงศุกร์ ระหว่างเวลา 09.30-16.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่ต้องการเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้าที่ โทรศัพท์: 0-2247-0028 ต่อ 4223,4224โทรสาร: 0-2645-2358

ห้องแสดงประวัติศาสตร์ไทยสมัยต่างๆ

บริเวณด้านหน้าของห้องนิทรรศการมีจอวิดีทัศน์แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีไทย

ห้องแสดงเรื่องราวประเทศไทยกับวิถีโลก

ข้าวกับวิถีชีวิตไทย

ห้องสมุดวัฒนธรรม (The Cultural Library)

ห้องสมุดวัฒนธรรมตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 อาคารนิทรรศการและบริการทางการศึกษา เป็นห้องสมุดที่เน้นข่าวสารและความรู้ทางด้านวัฒนธรรมโดยเฉพาะ มีบริการหนังสือ วารสาร และนิตยสารทางศิลปวัฒนธรรม หนังสือพิมพ์และข่าวสารรายวัน ซีดี วีซีดี เทปบันทึกภาพการแสดง กวีนิพนธ์ ดนตรี และเทปโทรทัศน์ ทั้งด้านสารคดีและการบันเทิง

เปิดให้บริการสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. (ตอนเที่ยงปิดบริการ) และหยุดทำการใน วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

มีหนังสือและเอกสารทางศิลปวัฒนธรรมมากมายหลากหลายไว้ให้บริการ

มุมนิตยสารและวารสาร

ศาลาไทยและศาลาญี่ปุ่น (Thai and the Japanese Pavilions)

ศาลาไทยและศาลาญี่ปุ่น ได้รับการพิจารณาให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ให้ทุนสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยถือเอาศาลาไทยเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปะสถาปัตยกรรมไทยสมบูรณ์แบบตามอุดมคติ เช่นเดียวกับศาลาญี่ปุ่นที่มีการออกแบบศาลาและจัดวางองค์ประกอบตามแนวประเพณีและวัฒนธรรมประจำชาติของญี่ปุ่น

บริเวณหน้าศาลาไทย เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่สามารถจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม เนื่องจากมีลักษณะเป็นลานกว้าง โดยมีฉากหลังเป็นศาลาไทยที่มีความงดงามวิจิตรบรรจง ที่แวดล้อมไปด้วยพรรณไม้อันร่มรื่น เช่นเดียวกับศาลาญี่ปุ่นที่สามารถจัดกิจกรรมเล็กๆ ท่ามกลางสวนญี่ปุ่นที่งดงามและแปลกตา

ศาลาไทยสัญลักษณ์ทางศิลปะสถาปัตยกรรมไทยสมบูรณ์แบบตามอุดมคติ

ความวิจิตรงดงามของศาลาไทยยามค่ำคืน

ลานหน้าศาลาไทย(มองจากด้านข้าง)

ศาลาญี่ปุ่นที่มีการออกแบบและจัดองค์ประกอบตามแนวประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่และการเช่าใช้สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โทร 0 2247 0028 ต่อ 4105-4109 โทรสาร 0 2245 7747

อัตราค่าใช้จ่ายในการใช้สถานที่

ค่าใช้จ่ายในการใช้สถานที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการใช้สถานที่
และค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ดังนี้


ค่าธรรมเนียมการใช้สถานที่ แบ่งออกเป็นอัตราต่างๆ ตามสถานที่ ดังนี้

หอประชุมใหญ่ (Main Hall)

*เตรียมงาน/ซ้อม/เก็บงาน :5,600 บาท/วัน (8 ชม.)

* เปิดเครื่องปรับอากาศ :4,000 บาท/ชม.

* รอบกิจกรรมจริง(หรือซ้อมเต็มรูปแบบมีผู้ชม) :36,000 บาท/รอบ

* รอบซ้อมเต็มรูปแบบ (ไม่มีผู้ชม) : 30,000 บาท/รอบ

* ห้องฝึกซ้อมครึ่งวงกลม :200 บาท/ชม.

* ห้องพักนักแสดง(ห้องกรีนรูม):300 บาท/ วัน (8 ชม.)

* แกรนด์เปียโน :2,000 บาท/กิจกรรม

หอประชุมเล็ก (Small Hall)

* เตรียมงาน :2,700 บาท/วัน (8 ชม.)

* เปิดเครื่องปรับอากาศ :2,000 บาท/ชม.

* รอบกิจกรรมจริง :12,000 บาท/รอบ

* รอบซ้อมเต็มรูปแบบ(ไม่มีผู้ชม) : 12,000 บาท/รอบ

* แกรนด์เปียโน : 1,000 บาท/กิจกรรม

โรงละครกลางแจ้ง (Amphitheatre) ลานกลางแจ้ง (Multi-purposed Plaza)
ลานหน้าศาลาไทย (Thai Pavilion)

* เตรียมงาน : 2,500 บาท/วัน (8 ชม.)

* รอบกิจกรรมจริง : 4,700 บาท/วัน (8 ชม.)

* รอบซ้อม (ไม่มีผู้ชม) : 4,000 บาท/วัน (8 ชม.)

ห้องนิทรรศการหมุนเวียน (Changing Exhibition Hall)


1,000 บาท/วัน (8 ชม.)

ห้องประชุม 1 (Meeting Room 1)

800 บาท/วัน (8 ชม.)

ห้องประชุม 2 (Meeting Room2)

300 บาท/วัน (8 ชม.)

หมายเหตุ : 1. เวลาในการใช้สถานที่/วัสดุ/อุปกรณ์ ต่อรอบไม่เกิน 3 ชั่วโมง ต่อกิจกรรมไม่เกิน 1 สัปดาห์
หากใช้เกินจากเวลาที่ กำหนดตั้งแต่ 30 นาที คิดเพิ่มเฉลี่ยเป็นรายชั่วโมง
2. วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ คิดค่าธรรมเนียมพิเศษ เพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์จากราคาเดิม


อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 2 อัตรา ได้แก่ อัตราในวันทำการ และอัตราในวันหยุดราชการ

วันทำการ จันทร์-ศุกร์

แบ่งออกเป็นตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

*ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ดูแลทั่วไป ตำรวจราจร ช่างเทคนิค และ คนงาน :

20 บาท / คน (08.30-16.30น.)
40 บาท / คน (16.30-22.00น.)
60 บาท / คน (22.00-24.00น.)
90 บาท / คน (24.00-08.30 น.)

*พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่เดินบัตร :

15 บาท/คน (8.30-16.30 น.)
30 บาท/คน (16.30-22.00น.)
45 บาท/คน (22.00-24.00 น.)
67.50 บาท/คน (24.00+08.30 น.)

วันหยุดราชการ

*ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ดูแลทั่วไป ตำรวจจราจร ช่างเทคนิค และคนงาน :

40 บาท/คน (7 ชั่วโมงแรก)
60 บาท/คน (ชั่วโมงที่ 8)
90 บาท/คน (22.00-24.00 น.)
90 บาท/คน (00.00-08.30 น.)

* พนักงานทำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่เดินบัตร

30 บาท/คน (7ชั่วโมงแรก)
45 บาท/คน (ชั่วโมงที่ 8)
67.50 บาท/คน (22.00-24.00 น.)
90 บาท/คน (00.00 - 08.30 น.)

หมายเหตุ: จำนวนเจ้าหน้าที่ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และสถานที่

ค่าใช้จ่ายในการใช้สถานที่ทั้งหมด เจ้าหน้าที่กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์จะเป็นผู้คำนวณจำนวนเงิน ผู้ใช้บริการต้องส่งรายละเอียดในการใช้สถานที่ อาทิ สถานที่ เวลา อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ให้กับเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการจะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อรับทราบรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด และในกรณีที่มีเสด็จหรือมีบุคคลสำคัญของประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประดับธง ค่าตกแต่งสถานที่ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ ซึ่ง เจ้าหน้าที่กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์จะแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบทราบในภายหลัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
โทร 0 2247 0028 ต่อ 4105-4109 โทรสาร 0 2245 7747





ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้สถานที่

เงื่อนไขการขอใช้ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ตามระเบียบ
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2547

1. ยื่นหนังสือขอใช้สถานที่ เรียน เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ลงนามโดยผู้มีอำนาจตาม หนังสือรับรอง
จดทะเบียน หรือใบอนุญาตให้จัดตั้งหน่วยงาน (แนบสำเนาประทับตราหน่วยงาน และสำเนาบัตรประจำตัว ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง) พร้อมชำระค่าจอง

*หอประชุมใหญ่ : ระหว่าง 1 – 5 วัน 10,000 บาท , 6 – 10 วัน 20,000 บาท , 11 – 21 วัน 30,000 บาท , 22 – 30 วัน 40,000 บาท, 1 เดือนขึ้นไป 50,000 บาท
*หอประชุมเล็ก: ระหว่าง 1 – 5 วัน 3,000 บาท , 6 – 10 วัน 6,000 บาท , 11 – 21 วัน 9,000 บาท , 21 – 30 วัน 12,000 บาท, 1 เดือนขึ้นไป 15,000 บาท
* ส่วนอื่น ๆ : 2,000 บาท

โดยโอนเงินสดเข้าธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาถนนอโศก – ดินแดง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 056-1-04531-3
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และนำหลักฐานการโอนเงินมาแสดงด้วย) ยื่นที่กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์ สวศ. ก่อนวันจัดงาน
ไม่น้อยกว่า 60 วัน แต่ไม่เกิน 2 ปี

2. รอรับหนังสือตอบ การขอใช้สถานที่ อนุญาต/ไม่อนุญาต ประมาณ 1-2 สัปดาห์

3. ส่งรายละเอียด วัน - เวลาในการใช้สถานที่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำสัญญา และประมาณการค่าใช้จ่าย โดยผู้ขออนุญาตจะต้องแจ้งรายละเอียดดังกล่าวให้ทราบล่วงหน้าก่อนทำสัญญา อย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์

4. ทำสัญญาฯ ภายใน 10 วัน หลังจากรับหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ พร้อม :

4.1 ชำระค่ามัดจำ

*หอประชุมใหญ่ : 6,000 บาท / วัน
*หอประชุมเล็ก : 2,000 บาท / วัน
* โรงละครกลางแจ้ง หรือลานกลางแจ้งหรือลานหน้าศาลาไทย : 400 บาท
*สถานที่อื่น ๆ : 100 บาท / วัน/

ชำระโดยโอนเงินสดเข้าธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาอโศก – ดินแดง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 056-1-04531-3
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เท่านั้น และนำหลักฐานการโอนเงินมาแสดงในวันทำสัญญาด้วย

4.2 แนบสำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียน หรืออนุญาตให้จัดตั้งหน่วยงาน ประทับตราหน่วยงานลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

4.3 แนบสำเนาบัตรประจำตัวตามกฎหมายของผู้ลงนามในสัญญาฯ (บุคคลที่มีอำนาจลงนามผูกพัน ที่ระบุไว้ตามหนังสือในข้อ 4.2 ลงลายมือรับรองสำเนา จำนวน 2 ชุด)

4.4 กรณีมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาฯ แทน ให้เพิ่มหนังสือมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สถานที่แทน โดยบุคคลตามข้อ 4.3 ประทับตราหน่วยงาน ติดอากรฯ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวตามกฎหมายของผู้รับมอบอำนาจให้ลงนามแทน ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาจำนวน 2 ชุด

5. ชำระค่าใช้จ่ายงวดสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 3 วัน ทำการก่อนวันใช้สถานที่ พร้อม :

5.1 วางหนังสือค้ำประกัน ค้ำต่อ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ หรือโอนเงิน เป็นแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นการประกันความเสียหาย สถานที่ วัสดุ - อุปกรณ์ต่าง ๆ ค้ำประกันการรื้อถอนป้ายประกาศโฆษณาและทำความสะอาด บริเวณที่ได้ใช้

*หอประชุมใหญ่ : 250,000 บาท
*หอประชุมเล็ก : 85,000 บาท
*โรงละครกลางแจ้ง : 10,000 บาท
*ลานกลางแจ้ง : 10,000 บาท
*ลานหน้าศาลาไทย : 10,000 บาท
*ห้องฝึกซ้อมครึ่งวงกลม : 10,000 บาท
*ห้องพักนักแสดง (ห้องกรีนรูม) : 10,000 บาท
*ห้องนิทรรศการหมุนเวียน : 10,000 บาท
*ห้องประชุม 1 : 5,000 บาท
*ห้องประชุม 2 : 5,000 บาท
*แกรนด์เปียโนประจำหอประชุมใหญ่ : 15,000 บาท
*แกรนด์เปียโนประจำหอประชุมเล็ก : 15,000 บาท
*การรื้อถอนป้ายประกาศโฆษณาและทำความสะอาด : 3,000 บาท

5.2 ชำระค่าใช้จ่ายที่เหลือ (ค่าธรรมเนียมการใช้สถานที่งวดสุดท้ายและค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ชำระโดยโอนเงินสดเข้าธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาถนนอโศก – ดินแดง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 056-1-04531-3 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เท่านั้น
และนำหลักฐานการโอนเงินมาแสดงด้วย)

5.3 ชำระค่าใช้จ่ายกรณีเสด็จฯ ดังนี้ :

5.3.1 ค่าประดับธงกรมโยธาธิการ ฝากผู้อนุญาตชำระ

5.3.2 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม ( รักษาความปลอดภัย จัดจราจร เจ้าหน้าที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ชำระโดยโอนเงินสดเข้าธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาอโศก – ดินแดง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 056-1-04531-3
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และนำหลักฐานการโอนเงินมาแสดงด้วย)

5.3.3 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ค่าประดับห้องประทับ ที่ประทับและบริเวณพิธีการอื่น ๆ ซึ่งผู้จัดดำเนินการเอง)

6. รื้อถอนป้ายประกาศฯ และทำความสะอาดบริเวณที่ได้ใช้ ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้น

7. รอรับคืนหลักทรัพย์ค้ำประกันฯ ตามหนังสืออนุญาตให้รับคืนหลักทรัพย์ฯ


หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โทร. 0 2247 0028 ต่อ 4105 - 4109 โทรสาร 0 2245 7747